กลุ่มมิตรผลเดินหน้าพัฒนาอาคารเก่า กลุ่มเบญจจินดาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน กลุ่มบ้านปูพัฒนาด้านพลังงานโซล่าเซลล์ ล่าสุด มรท.อีสานได้งบฯ100ล้านวิจัยและพัฒนารถไฟระบบรางเบาต้นแบบด่วย นายสุรเดช ทวีแสงสกุลไทย” ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท ขอนแก่นพัฒนาเมือง เปิด เผยว่า ช่วงที่ผ่านมา “ขอนแก่นพัฒนาเมือง” เริ่มแผนขับเคลื่อนสมาร์ทซิตี้พร้อมกับเดินหน้าเร่งผลักดันระบบขนส่งมวลชน โดยมีความพยายามนำเสนอรถไฟฟ้ารางเบาให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมแต่เนื่องจากยังมีองค์ประกอบเกี่ยวข้องอีกมากมายจึงไม่สามารถขับเคลื่อนโครงการได้ตามแผนในปีนี้ และต้องปรับแผนดำเนินการให้สอดคล้องกับปัจจุบัน
จนบัดนี้เริ่มจับต้องโครงการได้บ้างแล้ว ปัจจุบัน “ขอนแก่นพัฒนาเมือง” มีแผนพัฒนาระบบรางโดยการระดมทุนจากต่างประเทศ แต่ยังค่อยเป็นค่อยไป เช่นเดียวกับแผนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ที่มีความพยายามฟื้นฟูย่านศรีจันทร์ให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง รูปแบบเป็นย่านนวัตกรรมแห่งใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีเข้าไปบริหารจัดการโดยร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
“เมื่อเร็วๆนี้ กลุ่มมิตรผลเดินหน้าพัฒนาอาคารเก่า กลุ่มเบญจจินดาเข้ามาร่วมพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน กลุ่มบ้านปูเข้ามาร่วมพัฒนาด้านพลังงานโซล่าเซลล์ การพัฒนาระยยต่อไปจึงจะเห็นห้องแถวเก่ากลับมามีผู้อยู่อาศัยและสามารถพัฒนาเชิงพาณิชย์ต่างๆได้ ซึ่งขอนแก่นพัฒนาเมืองเป็นตัวประสาน”นายสุรเดชกล่าวและว่า
วันนี้ได้เตรียมผู้เชี่ยวชาญจากหลายสาขาอาชีพเผยแพร่แนวคิดของการพัฒนาเมืองให้กับผู้นำในระดับต่างๆของจังหวัดกลุ่มร้อยแก่นสารสินธุ์ ได้แก่ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม และร้อยเอ็ด เพื่อให้ผู้เข้าร่วมระดมความเห็นนำแนวคิดการพัฒนาเมืองอัจฉริยะขับเคลื่อนในทิศทางเดียวกัน
ช่วงที่ผ่านมาดูเหมือนว่า “ขอนแก่นพัฒนาเมือง” ที่ถือเป็นโมเดลของอีกหลายเมืองนั้นจะขับเคลื่อนได้อย่างช้าๆเนื่องจากบางขั้นตอนจะต้องใช้ความร่วมมือจากหลายฝ่ายทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับรัฐบาลจึงต้องมีระยะเวลาเข้าไปดำเนินการ ตลอดจนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ให้สอดรับกับโลกเทคโนโลยีจึงค่อนข้างขับเคลื่อนอย่างระมัดระวัง ดังนั้นหากย้อนกลับไปราว 10 ปีขอนแก่นจะเห็นว่ามีการพัฒนาที่ก่าวหน้ามาโดยตลอดจน มีรูปแบบหรือแผนงานโครงการที่ชัดเจน จึงสามารถขับเคลื่อนได้รวดเร็วขึ้นในปัจจุบัน
วันนี้หากยังไม่เริ่มก็คงไม่มีโอกาสที่จะเห็นความสำเร็จ แต่หากขอนแก่นทำสำเร็จได้เร็วเชื่อว่าเมืองอื่นๆคงจะตามทันได้ยาก สามารถให้เป็นโมเดลกับเมืองอื่นๆนำไปปรับใช้ในการพัฒนาเมือง
นายสุรเดช กล่าวเพิ้มเติมว่าล่าสุดเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา บันทึกเป็นประวัติศาสตร์ของ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน(มทร.อีสาน) วิทยาเขตขอนแก่น ได้รับอนุมัติงบประมาณปี 2563-64 จำนวน 100 ล้านบาท ในโครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบระบบรถไฟฟ้ารางเบาโดยใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตภายในประเทศไทยเพื่อต่อยอดสู่การผลิตในภาคอุตสาหกรรม จาก สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (Office of National Higher Education Science Research and Innovation Policy Council :สอวช.) เพื่อยกระดับให้จังหวัดขอนแก่นเป็นศูนย์กลางการพัฒนาอุตสาหกรรมและเกิดเป็นองค์ความรู้ด้านระบบรางที่สมบูรณ์แบบรองรับการเติบโตทั้งการผลิตครบวงจรและการซ่อมบำรุง