“มาเวล คอร์ปอเรชั่น” ชวนใช้ไฟฟรีจากแสงแดดช่วงกลางวัน เดินหน้ารุกตลาดเครื่องปรับอากาศส่งท้ายโควิด-19 เตรียมเปิดตัว “แอร์มาเวลใช้พลังงานแสงอาทิตย์” นวัตกรรมใหม่เพื่อการประหยัดพลังงาน ชูกลยุทธ์ลงทุนไม่เกินแสน พร่อมระบบบริการสินเชื่อผ่อนชำระ
นายปริญญา มานวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท มาเวล คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องปรับอากาศยี่ห้อ “มาเวล” เปิดเผย โดยคาดว่าหลังจากพ้นวิกฤติโควิด-19 นี้แล้วเตรียมเปิดตัวเครื่องปรับอากาศนวัตกรรมใหม่ของมาเวล นั่นคือ เครื่องปรับอากาศ “มาเวลใช้พลังงานแสงอาทิตย์” พร้อมป้อนตลาดผ่านช่องทางต่างๆ เหมาะสำหรับหน่วยงานที่ใช้เครื่องปรับอากาศในเวลากลางวันมากกว่ากลางคืน
“โดยหลักการจะใช้ Marvell Inverter Controller นวัตกรรมใหม่ปรับสภาพแสงอาทิตย์ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดทุกช่วงสภาวะอากาศ รับประกันนานถึง 12 ปี จึงชักชวนให้ใช้พลังงานฟรีที่ไม่มีวันหมดจากพลังแสงแดด
์สามารถเปิดใช้งานได้ตลอด 24 ชั่วโมง
และประหยัดค่าไฟฟ้าได้ในเวลากลางวัน “นายปริญญากล่าวและว่า
จากการคำนวณพบว่าค่าประหยัดพลังงานขั้นต่ำที่คำนวณไว้ 5 ชั่วโมงต่อวัน ถ้าหลังคาที่ติดตั้งสามารถรับแสงแดดได้มากกว่า 5 ชั่วโมงต่อวันก็จะประหยัดได้ตามจริง ทั้งนี้(เมื่อเปิดเครื่องปรับอากาศ Marvell Inverter Controller จะจ่ายพลังงานจากแสงอาทิตย์ให้เครื่องปรับอากาศก่อนเสมอ ถ้าพลังงานไม่เพียงพอ พลังงานจากการไฟฟ้าจะเข้ามาเสริมในส่วนที่ขาดหายไป นั่นคือกลางวันใช้ไฟฟ้าฟรีจากแสงแดด ส่วนกลางคืนใช้ไฟฟ้าปกติอัตโนมัติ
ท้งนี้กระบวนการทำงานของเครื่องปรับอากาศรูปแบบใช้พลังงานโซล่าเซลล์จากแสงอาทิตย์นี้จะมีกล่องอินเวอร์สเตอร์แปลงไฟเข้ามาป้อนให้ระบบ จากไฟเอซีมาเป็นไฟดีซี โดยแอร์มาเวลยังจะมีกล่องอัพติไมซ์เซอร์ทำหน้าที่ตัดช่วงแดดน้อยไปใช้พลังงานไฟฟ้า หากแดดมากจะปรับระบบไปใช้แสงแดดจากโซล่าเซลล์
นายปริญญ กล่าวว่าสำหรับเครื่องปรับอากาศขนาด 25,000 BTU โดยทั่วไปจะเปิดใช้กันมากในออฟฟิศ สำนักงาน ร้านกาแฟ ฯลฯในช่วงกลางวัน เมื่อคำนวณการใช้งานโดยทั่วไป 5 ชั่วโมงต่อวัน จะจ่ายค่าไฟราว 1,600-1,700 บาทต่อเดือน หากเป็นแอร์มาเวลพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 26,000 BTU เท่ากัน เปิดใช้งาน 5 ชั่วโมง(เมื่อมีแสงแดด) จะจ่ายค่าไฟไม่เกิน 100 บาทต่อเดือน จึงเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน
หากมองในเรื่องราคาต่อเครื่องนายปริญญา กล่าวว่า เทียบกับขนาด 25,000 BTU ตามท้องตลาดทั่วไปอยู่ที่ประมาณ 3 หมื่นบาท แต่แอร์มาเวล อินเวอร์สเตอร์คอนโทรลเลอร์ ที่ติดตั้งด้วยการใส่โซล่าเซลล์อีก 8 แผ่นเต็มระบบจะใช้พลังงานแสงอาทิตย์ลงทุนอีกประมาณ 1 เท่าครึ่ง หรือเพิ่มอีกราว 5 หมื่นบาท รวมประมาณ 8-9 หมื่นบาท ไม่เกิน 1 แสนบาท แอร์ทั่วไปจะเสียค่าไฟโดยเฉลี่ยประมาณ 2,000 บาทเศษ แต่แอร์ใช้พลังงานไฟฟ้าจ่ายเพียงเดือนละประมาณ 100 บาท ดังนั้นค่าใช้จ่ายจะเห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจน และยืนยันมีผลการวิจัยแล้วว่าประมาณ 2 ปีจะคุ้มค่าการลงทุน
ดังนั้นส่วนต่างที่มีค่าใช้จ่ายสูงนั้นมาเวลยังเปิดช่องทางผ่อนชำระเป็นงวดๆ ผ่านสินเชื่อสถาบันการเงินต่างๆ ได้อีกด้วย พร้อมรับอุปกรณ์มาตรฐานเบอร์ 5 ที่มาเวลรับประกันคอมเพรสเซอร์ 12 ปี หากใช้งานไปแล้วเครื่องเสียภายใน 1 ปีเปลี่ยนเครื่องใหม่ให้ทันที ส่วนกล่องอัพติไมซ์เซอร์รับประกัน 12 ปี อุปกรณ์ทำจากสแตนเลสมาตรฐานสูง
“แม้ว่าจะลงทุนครั้งแรกด้วยเงินจำนวนสูงในแต่ละขนาด แต่หากพิจารณาจากระยะเวลาคุ้มทุนจะพบว่า ยกตัวอย่างขนาด 9,000 BTU ระยะเวลาคุ้มทุนประมาณ 47 เดือน ขนาด 12,000 BTU ระยะเวลาคุ้มทุน 42 เดือน ขนาด 18,000 BTU ระยะเวลาคุ้มทุน 40 เดือนการบำรุงรักษาเหมือนเครื่องปรับอากาศทั่วไป หมั่นล้างทำความสะอาด ล้างและเป่าฝุ่นละอองต่างๆ”
นายปริญญา กล่าว่เพิ้มเติมว่า สำหรับช่างติดตั้งนั้น
มาเวลพร้อมผลักดันช่างปรับอากาศทุกคนเป็นช่างมืออาชีพจริงๆ ทั่วประเทศให่ก้าวขึ้นมาเป็นเฒ่าแก่น้อย 4.0 ยกระดับจากช่างติดตั้งทั่วไปก้าวขึ้นมาสร้างธุรกิจเป็นของตนเอง ให้แต่ละคนมีรายได้ขั้นต่ำ 3-4,000 บาทขึ้นไปนอกเหนือจะรับรายได้จากการติดตั้งเครื่องปรับอากาศแล้วยังรับค่าติดตั้งโซล่าเซลล์ หากฝีมือดีอาจมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นบาทต่อวัน
“เมื่อผ่านพ้นโควิด-19 ไปแล้วคาดว่าภายในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคมนี้จะจัดอบรมความรู้เรื่องการติดตั้งและคุณลักษณะของเครื่องปรับอากาศมาเวลให้กับช่างทั่วประเทศ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับช่าง พร้อมกันนี้ยังอบรมให้ช่างทุกคนสามารถวิเคราะห์รายละเอียดเกี่ยวกับเครื่องปรับอากาศมาเวลให้ลูกค้าเข้าใจง่ายๆ ปัจจุบันมาเวลมีดีลเลอร์ทั่วทุกภาค 300 ราย ล่าสุดดีลเลอร์ที่เป็นผู้ประกอบการโซล่าเซลล์ตอบรับเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับมาเวลแล้วจำนวนหลายราย”
ทั้งนี้ด้วยหลักการของโซล่าเซลล์ที่ใช้งานโดยทั่วไปจะนำผลิตภัณฑ์ที่ต้องการใช้พลังงานในบ้านมาคำนวณเพื่อให้การจัดวางแผ่นโซล่าเซลล์บนหลังคาบ้านได้อย่างถูกต้อง โซล่าเซลล์ 1 แผ่นใช้ไฟประมาณ 320 วัตต์ โดยไม่มีกระแสไฟฟ้าย้อนกลับ
ในส่วนหลักการทำงานภาคปฏิบัติจะใช้พลังงานจากโซล่าเซลล์เข้าไปกระตุ้นคอมเพรสเซอร์ที่ใช้ระบบไฟดีซี(DC) ให้ทำงาน