หอการค้าจังหวัดภูเก็ตวอนรัฐบาลเร่งเยียวยาผลกระทบไวรัสโคโรนา เชื่อจะมีผลลุกลามทุกภาคส่วน หาก
ปล่อยยืดเยื้อในระยะยาว พร้อมเสนอ 9 ข้อขอรับความช่วยเหลือ และผลักดันนโยบาย “โครงการไทยช่วยไทยใน 10 เดือน” เพื่อฟื้นเศรษฐกิจเรียกความเชื่อมั่น
นายธนูศักดิ์ พึ่งเดช ประธานหอการค้าจังหวัดภูเก็ต เปิดเผยว่าได้จัดทำข้อสรุปและข้อเสนอแนะของหอการค้าจังหวัดภูเก็ต กับทางออกของภาคเอกชนและประชาชนในเหตุการณ์วิกฤติไวรัสโคโรนา ที่มีความรุนแรงของปัญหา ทำให้นักท่องเที่ยวหายไปจากวิกฤติไวรัสโคโรนา โดยเสนอต่อกระทรวงสาธารณสุขเพื่อนำเสนอรัฐบาลต่อไป
“ในเบื้องต้นผลกระทบในขณะนี้พบว่า 1. นักท่องเท่ียวชาวจีนร่วม 4 ล้านคนหายไปจากภูเก็ต เนื่องจาก
สาเหตุการถูกกักตัวให้อยู่ในบ้านพักในทุกๆเมืองที่ประเทศจีนในขณะน้ี และในทางธุรกิจส่งผลให้ประเทศจีนเกิดการชะงักเรื่องการเงินไปอีกหลายเดือน คาดว่าอาจจะเริ่มฟื้นฟูขึ้นมาอีกคร้ังในช่วงฤดูกาลท่องเท่ียวอีก 10 เดือนข้างหน้า 2. นักท่องเที่ยวชาติอื่นๆอีกกว่า 10 ล้านคนแ้มีความต้องการจะมาประเทศไทย แต่จากข่าวที่ทั่วโลกรับรู้ส่วนใหญ่อาจตัดสินใจเลื่อนการเดินทางออกไปจนกว่าจะได้รับการยืนยันจากรัฐบาลของแต่ละประเทศ”นายธนูศักดิ์ กล่าวและว่า
จังหวัดภูเก็ตจัดเฝ้าระวังมาตั้งแต่ต้นเริ่มตั้งแต่ได้มีคำสั่ง โดยเฉพาะ 14 วันปรากฎว่าไม่พบผู้ป่วย ขณะนี้ผู้ที่อยู่ในข่ายเฝ้าระวังลดจำนวนลงอย่างต่อเนื่อง เตรียมเดินทางกลับจีน ส่วนนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางมาภูเก็ตไม่มีเข้ามาเนื่องจากทางจีนไม่อนุญาตให้ออกนอกประเทศเพื่อต้องการแก้ไขปัญหาไม่ให้ลุกลาม มีนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาคัดกรอง ตรวจร่างกายอย่างต่อเนื่องและประสงค์จะอยู่ต่อในประเทศไทยเนื่องจากยังไม่อยากเดินทางกลับประเทศจีนขณะนี้จึงเสนอให้รัฐบาลไทยต่อวีซ่าชั่วคราวให้นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ออกไปคราวละ 1 เดือนจนกว่าเหตุการณ์จะคลี่คลายสามารถเดินทางกลับประเทศจีนได้
ประธานหอการค้าจังหวัดภูเก็ตกล่าวอีกว่าสำหรับผลกระทบต่อเศรษฐกิจจังหวัดภูเก็ตนั้นพบว่าภาครายได้ภูเก็ตหายไปทุกวงการ ไม่ว่าจะเป็น 1. ท่องเที่ยว-บริการรถ,เรือ 2. ของที่ระลึก-อาหาร-บันเทิง-สปา-ค้าปลีก 3. ท่ีดิน-อสังหาริมทรัพย์-ก่อสร้าง 4. โรงงานผลิตและซ่อมต่างๆ เช่นเรือ สระว่ายน้ำ อื่นๆอีกมากมาย และ 5.พนักงาน/ลูกจ้างในกิจการที่เก่ียวข้อง เพราะเล็งเห็นว่าสิ่งที่ได้รับผลกระทบจะเดือดร้อนไปทุกวงการ ไม่ว่าจะเป็นรายได้หดหายเป็นลูกโซ่ทยอยเป็นปัญหาทุกวงการ
ดังนั้นสิ่งที่ภาคเอกชนในภูเก็ตขอให้รัฐบาลช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกอบการในภูเก็ตทุกธุรกิจอย่างเร่งด่วน ดังนี้คือ
- ขอให้ นายอนุทิน ชาญวีรกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขซึ่งเป็นผู้ให้ข่าวเรื่องไวรัลโคโรนาแต่เพียงผู้เดียว ออกมาแถลงข่าวยืนยันว่าสถานะแต่ละเมืองท่องเที่ยวในประเทศไทยเป็นอย่างไร จะควบคุมได้เมื่อไหร่ และยืนยัน “เมืองภูเก็ตปลอดภัย” ให้เร็วที่สุด เพราะว่าหากมีหน่วยงานระดับประเทศที่มาร่วมแถลงข่าวเพื่อสร้างความเชื่อมั่นกับต่างประเทศได้อย่างรวดเร็วได้เท่าไหร่ นักท่องเที่ยวต่างชาติอื่นที่ไม่ใช่ชาวจีน และนักท่องเที่ยวชาวไทยเองจะได้มาเที่ยวกันอย่างมั่นใจในความปลอดภัย
- ทุกธุรกิจในเมืองท่องเที่ยวที่กระทบอย่างรุนแรงควรได้รับสิทธิ์จากการเยียวยาเหมือนกัน เท่ากันทุกบริษัท ไม่ควรท้าให้ธนาคารสับสน ไม่ชัดเจนว่าเป็นธุรกิจท่องเที่ยวหรือไม่
- ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้วงเงินปัจจุบัน เหลือ 2 % 12 เดือนแบบเดียวกับในช่วงเหตุการณ์สึนามิ
- ยืดการชำระดอกเบี้ยและเงินต้นไปอย่างน้อย 12 เดือน
- ยืดการชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลที่บริษัทต้องชำระให้รัฐบาลออกไปก่อน
- ให้งดการจ่ายเงินประกันสังคมเพื่อช่วยรักษาแรงงานไว้
- อัดฉีดเงินกู้ใหม่ตามที่ธนาคารเห็นสมควรในอัตราดอกเบี้ย 2% เข้ามาในระบบให้กับทุก บริษัทที่ยังทำธุรกรรมเพื่อช่วยรักษาธุรกิจและลดปัญหาแรงงานไม่มีงานทำ
- ปรับลดอัตราการผ่อนชำระหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อของบริษัท-ห้างร้าน ต่องวด 20% จนถึง วันที่ 3 ธันวาคม 2563
- สำหรับพนักงานและลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบให้พิจารณาให้ความช่วยเหลือ ปรับลดอัตราผ่อนชำระหนี้ทั้งบ้านและรถต่องวดเหลือเพียง 20% จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2563
“นอกจากนี้ยังได้นำเสนอนโยบายดึงนักท่องเที่ยวชาวไทยเข้ามาเที่ยวในช่วงผ่านพ้นวิกฤติไวรัสโคโรนา ไปแล้ว นั่นคือ “โครงการไทยช่วยไทยใน 10 เดือน” ด้วยการ 1. ลดภาษีน้ำมันของสายการบินและลดภาษีสนามบินเพื่อกำหนดให้ตั๋วเครื่องบินไปกลับภูเก็ต-กรุงเทพ อยู่ในราคาไป-กลับ 999 บาท 2. ค่าที่พัก-ค่าเดินทางในภูเก็ต-ค่าอาหารสำหรับคนมาเที่ยวภูเก็ต รับคูปองส่วนลด 30% ไปใช้ได้ทันทีสำหรับคนไทยที่มาเที่ยวในระบบเดียวกับชิมช้อปใช้”