“ไฟใต้” ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ชึ่งลุกโชนมาเกือบจะ2ทศวรรษแล้ว แต่ยังไร้วี่แววว่าจะสงบและยุติลงได้
ในขณะที่ประเทศชาติต้องสูญเสียชีวิตพี่น้องในพื้นที่และเจ้สหน้าที่ไปแล้วตรั้งแล้วครั้งเล่านับไม่ถ้วน ส่วนทรัพย์สินทั้งบ้านเรือนราษฎรและอาคารสถสนที่ราชการก็เสียหายนับไม่ถ้วนเช่นกัน
ไม่นับจำนวนเงินงบประมาณแผ่นดินอีดปีละหลายหมื่นล้านบาทก็ต้องสิ้นเปลืองไปกับการชดเชยความสูญเสียชีวิตและ.ใช้ซ่อมแซมอาคารสถานที่และทรัพยศินที่เสียหายนับไม่ถ้วนเช่นกัน
แต่ใช่ว่าความสูญเสียดังกล่าวจะไม่อาจลดลงได้ แม้สถานการณืความขัดแย้งจะยังไม่ยุติลงก็ตาม
เมื่อสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ .วิจัยและนวัตกรรม เปิดตัวผลงานสำคัญต่อความมั่นคงของปนะเทผส ในบทบาทการขับเคลื่อนผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประเทศ ในมิติด้านความมั่นคง
ทั้งนี้เพื่อตอบสนองนโยบายรัฐ ในการบูรณาการความร่วมมือกับเครือข่ายการวิจัย โดยส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อให้สามารถผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ได้เอง
ที่ผ่านว.วช. ได้ให้ความสำคัญกับการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มาอย่างต่อเนื่อง โดยถือเป็นนโยบายที่สำคัญและเร่งด่วน วช.จึงได้ให้การสนับสนุนกรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่กลาโหม (วท.กห.) พัฒนาและผลิตเสื้อเกราะกันกระสุนน้ำหนักเบาระดับ NIJ III ภายใต้แผนงานวิจัยตอบสนองต่อนโยบายและเป้าหมายรัฐบาล
ขณะที่ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ซึ่งมีความร่วมมือกับ วช. ในการใช้ประโยชน์องค์ความรู้จากผลงานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ : ชุมชนเข้มแข็ง ด้วยวิจัยและนวัตกรรม ผ่านกลไกการดำเนินงานของศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 1- 5 (ศปป.1 – 5) อยู่แล้ว จึงนับเป็นความร่วมมือสำคัญในการบูรณาการขับเคลื่อนงานวิจัยและนวัตกรรมไปสู่การใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาชุมชนสังคมในพื้นที่ของ กอ.รมน. อันเป็นฐานรากสำคัญของการพัฒนาประเทศโดยรวม
ประการสำคัญ กอ.รมน. โดยกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 5 (ศปป.5) ได้เห็นความสำคัญของการวิจัยและนวัตกรรมต่อการพัฒนาด้านความมั่นคง และขอรับการสนับสนุน “เสื้อเกราะป้องกันกระสุน ระดับ 3” เพื่อใช้ประโยชน์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภายใต้
ศาสตราจารย์นายแพทย์ สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ได้สนับสนุนให้ กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม ดำเนินการวิจัยและพัฒนาเสื้อเกราะป้องกันกระสุนระดับ NIJ III หรือระดับ 3 โดยส่งมอบเสื้อเกราะดังกล่าวแก่ พลเอก ธีรวัฒน์ บุณยะวัฒน์ เสนาธิการทหารบก เลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร จำนวน 105 ตัว เพื่อใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ด้านความมั่นคง ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2562 ณ ห้องรับรอง 211 ชั้น 1 อาคาร 2 ภายในกองบัญชาการกองทัพบก กรุงเทพมหานคร
เสื้อเกราะป้องกันกระสุน ระดับ NIJ 3 เป็นเสื้อเกราะที่มีน้ำหนักเบากว่าเสื้อเกราะที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
ที่ต้นทุนการผลิตต่ำกว่าที่ผลิตด้วยวัตถุดิบนำเข้าเกือบเท่าตัวและมีประสิทธิภาพทัดเทียมต่างประเทศ นับเป็นนวัตกรรมใหม่ทั้งในด้านเทคโนโลยีการผลิต การนำวัตถุดิบที่ผลิตได้ในประเทศมาใช้ประโยชน์สูงสุด รวมถึงการสร้างองค์ความรู้ใหม่ให้กับอุตสาหกรรมพลาสติกและเส้นใยสังเคราะห์ของประเทศ
เสื้อเกราะป้องกันกระสุน ระดับ NIJ 3 ได้ผ่านการทอสอบจากห้องปฏิบัติการ HP White Laboratory Inc. ประเทศสหรัฐอเมริการ ซึ่งผ่านเกณฑ์มาตรฐาน NIJ และได้รับการรับรองมาตรฐานยุทโธปกรณ์กระทรวงกลาโหม
ทั้งนี้ วช. ได้ สนับสนุนงบประมาณในการผลิตขยายผลเสื้อเกราะกันกระสุน ระดับป้องกัน III (รุ่น 2814 SA) เพื่อนำไปใช้สำหรับการป้องกันและลดอันตรายจากกระสุนในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงภัย เสื้อเกราะกันกระสุน ดีงกล่าว จึงนับเป็นผลงานวิจัยอันล้ำค่าที่จับต้องได้ ใช้ในสถานการ์สู้รบและการปะทะที่จะลดความสูญเสียลงได้
แม้ความขัดแย้งและ ”ไฟใต้” ยังไม่ดับสนิทก็ตาม